ความรู้ทั่วไปของอุปกรณ์ข้อต่อ

อุปกรณ์ข้อต่อ (FITTINGS)
    อุปกรณ์ข้อต่อหรือฟิตติ้งส์ คืออุปกรณ์ส่วนหนึ่งในงานระบบท่อ ที่มีลักษณะการใช้งานเพื่อต้องการเปลี่ยนทิศทางไหลหรือเป็นข้อต่อลดหรือเพิ่มขนาดท่อ


อุปกรณ์ข้อต่อชนิดชนเชื่อม (Butt-Welding Fittings)
    เป็นอุปกรณ์ข้อต่อที่ติดตั้งโดยการเชื่อมอุปกรณ์เข้ากับบริเวณปลายของท่อเหล็ก เป็นการเชื่อมชนโดยแนวเชื่อมสามารถ X-RAY ควบคุมคุณภาพงานเชื่อมได้ โดยในปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ข้อต้อชนิดชนเชื่อมตามมาตรฐาน ASTM สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานที่นิยมได้ดังนี้
    1. ข้องอ (Elbow) ในปัจจุบันมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ แบบ Long Radius และ แบบ Short Radius โดยปัจจุบันจะนิยมใช้งานในแบบ Long Radius ซึ่งจะเหมาะสำหรับการใช้งานติดตั้งทั่วไป ส่วนแบบ Short Radius เหมาะสำหรับติดตั้งในกรณีที่มีพื้นที่จำกัด
        1.1 ข้องอ 45 องศา (Elbow 45 Degree) ใช้งานเมื่อต้องการเปลี่ยนทิศทางการไหลเป็นมุม 45 องศา
        1.2 ข้องอ 90 องศา (Elbow 90 Degree) ใช้งานเมื่อต้องการเปลี่ยนทิศทางการไหลเป็นมุม 90 องศา
        1.3 ข้องอ 180 องศา (Elbow 180 Degree) ใช้งานเมื่อต้องการเปลี่ยนทิศทางการไหลเป็นมุม 180 องศา
    2. ข้อต่อสามทาง (Tee)
        2.1 ข้อต่อสามทางตรง (Straight Tee) ใช้งานเมื่อต้องการแยกการไหลในลักษณะ 90 องศา จากท่อหลักไปที่ท่อสาขา โดยขนาดท่อหลักและท่อสาขานั้นมีขนาดเท่ากัน
        2.2 ข้อต่อสามทางลด (Reducing Tee) ใช้งานเมื่อต้องการลดขนาดของท่อและแยกการไหลในลักษณะ 90 องศาจากท่อหลักไปที่ท่อสาขา โดยที่ขนาดของท่อหลักจะใหญ่กว่าท่อสาขา
    3. ข้อลด (Reducer)
        3.1 ข้อลดกลม (Concentric Reducer) ใช้งานสำหรับการลดขนาด เช่น เมื่อต้องการลดขนาดท่อจาก 4 นิ้ว ไป 3 นิ้ว โดยจุดประสงค์คือต้องการให้ท่อหลักและท่อสาขามีจุดศูนย์กลางของท่อร่วมกัน สามารถติดตั้งได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง
        3.2 ข้อลดเยื้องศูนย์ (Eccentric Reducer) ใช้สำหรับการลดขนาดท่อ โดยมีจุดประสงค์คือต้องการให้ด้านบนหรือด้านล่างของท่อหลักและท่อสาขาอยู่ในระนาบเดียวกัน เพื่อจัดระเบียบพื้นที่ติดตั้ง และนำไปใช้ในการติดตั้งท่อทางดูดของปั๊มน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดโพรงอากาศและน้ำที่ไหลเข้ามา จะไล่อากาศที่เกิดขึ้นออกไปได้ง่าย
    4. ฝาครอบ (Cap) ใช้งานเมื่อต้องการอุดหรือปิดกั้นของไหล


อุปกรณ์ข้อต่อเหล็กหล่อเหนียวชนิดเกลียว (Threaded Malleable Iron Fittings)
    อุปกรณ์ข้อต่อเหล็กหล่อเหนียวชนิดเกลียวหรือฟิตติ้งส์ประปาเกลียว เป็นอุปกรณ์ข้อต่อที่ติดตั้งโดยการขันเกลียวเข้ากับบริเวณปลายของท่อ ซึ่งจะนิยมใช้กับท่อเหล็กที่มีขนาดเล็กกว่า 2 ½ นิ้ว ลงมา โดยในปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ข้อต้อชนิดเกลียวตามมาตรฐาน British Standard (BS) สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานที่นิยมได้ดังนี้
    1. ข้องอ (Elbows)
        1.1 ข้องอ 45 องศา (Elbow 45 Degree) ใช้งานเมื่อต้องการเปลี่ยนทิศทางการไหลเป็นมุม 45 องศา
        1.2 ข้องอ 90 องศา (Elbow 90 Degree) ใช้งานเมื่อต้องการเปลี่ยนทิศทางการไหลเป็นมุม 90 องศา
        1.3 ข้องอ 180 องศา (Elbow 180 Degree) ใช้งานเมื่อต้องการเปลี่ยนทิศทางการไหลเป็นมุม 180 องศา
    2. ข้อต่อสามทาง (Tees)
        2.1 ข้อต่อสามทางตรง (Straight Tees) ใช้งานเมื่อต้องการแยกการไหลในลักษณะ 90 องศา จากท่อหลักไปที่ท่อสาขา โดยขนาดท่อหลักและท่อสาขานั้นมีขนาดเท่ากัน
        2.2 ข้อต่อสามทางลด (Reducing Tees) ใช้งานเมื่อต้องการลดขนาดของท่อและแยกการไหลในลักษณะ 90 องศาจากท่อหลักไปที่ท่อสาขา โดยที่ขนาดของท่อหลักจะใหญ่กว่าท่อสาขา
    3. ข้อลด (Reducers)
        3.1 ข้อลดกลม (Concentric Reducers) ใช้งานสำหรับการลดขนาด เช่น เมื่อต้องการลดขนาดท่อจาก 4 นิ้ว ไป 3 นิ้ว โดยจุดประสงค์คือต้องการให้ท่อหลักและท่อสาขามีจุดศูนย์กลางของท่อร่วมกัน สามารถติดตั้งได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง
        3.2 ข้อลดเยื้องศูนย์ (Eccentric Reducers) ใช้สำหรับการลดขนาดท่อ โดยมีจุดประสงค์คือต้องการให้ด้านบนหรือด้านล่างของท่อหลักและท่อสาขาอยู่ในระนาบเดียวกัน เพื่อจัดระเบียบพื้นที่ติดตั้ง และนำไปใช้ในการติดตั้งท่อทางดูดของปั๊มน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดโพรงอากาศและน้ำที่ไหลเข้ามา จะไล่อากาศที่เกิดขึ้นออกไปได้ง่าย
    4. ฝาครอบ (Caps) ลักษณะโครงสร้างเป็นแบบเกลียวใน โดยใช้สำหรับครอบปลายท่อ(เกลียวนอก) หรืออุปกรณ์ต่างๆ ใช้งานเมื่อต้องการปิดกั้นของไหล
    5. ปลั๊กอุด (Plugs) ลักษณะโครงสร้างเป็นแบบเกลียวนอก โดยใช้สำหรับอุดเข้าไปในอุปกรณ์ต่างๆ เช่นวาล์ว(เกลียวใน) ใช้งานเมื่อต้องการอุดหรือปิดกั้นของไหล
    6. นิปเปิล (Nipples) เป็นข้อต่อตรงแบบเป็นแบบเกลียวนอกทั้งสองด้าน ใช้เมื่อต้องการต่อท่อ 2 ท่อนเข้าหากัน


อุปกรณ์ข้อต่อชนิดแรงดันสูงแบบสวมเชื่อมและเกลียว (Socket Welded &Threaded Forge Steel Fittings)
  อุปกรณ์ข้อต่อชนิดแรงดันสูงแบบสวมเชื่อมและเกลียว เป็นอุปกรณ์ข้อต่อที่ติดตั้งโดยการสวมท่อเข้าไปแล้วเชื่อมหรือขันเกลียวเข้ากับบริเวณปลายของท่อเหล็กเช่นเดียวกันกับฟิตติ้งส์ประปาเกลียว แต่อุปกรณ์ข้อต่อชนิดแรงดันสูงแบบสวมเชื่อมและเกลียว จะมีความสามารถในการทนแรงดันได้สูงมาก ตามลักษณะการออกแบบโดยใช้การขึ้นรูปด้วยวิธีทุบขึ้นรูป (Forging) โดยมีเนื้อวัสดุ 2 ประเภทให้เลือกใช้ คือ วัสดุเหล็กเหนียว (Carbon Steel) ตามมาตรฐาน ASTM A105 แรงดัน 3,000 / 6,000 lbs. และวัสดุสเตนเลสสตีล ตามมาตรฐาน ASTM A182 (F304/304L, F316/316L) แรงดัน 3,000/6000 lbs. สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานที่นิยมได้ดังนี้
    1. ข้องอ (Elbows)
        1.1 ข้องอ 45 องศา (Elbow 45 Degree) ใช้งานเมื่อต้องการเปลี่ยนทิศทางการไหลเป็นมุม 45 องศา
        1.2 ข้องอ 90 องศา (Elbow 90 Degree) ใช้งานเมื่อต้องการเปลี่ยนทิศทางการไหลเป็นมุม 90 องศา
        1.3 ข้องอ 180 องศา (Elbow 180 Degree) ใช้งานเมื่อต้องการเปลี่ยนทิศทางการไหลเป็นมุม 180 องศา
    2. ข้อต่อสามทาง (Tees)
        2.1 ข้อต่อสามทางตรง (Straight Tees) ใช้งานเมื่อต้องการแยกการไหลในลักษณะ 90 องศา จากท่อหลักไปที่ท่อสาขา โดยขนาดท่อหลักและท่อสาขานั้นมีขนาดเท่ากัน
        2.2 ข้อต่อสามทางลด (Reducing Tees) ใช้งานเมื่อต้องการลดขนาดของท่อและแยกการไหลในลักษณะ 90 องศาจากท่อหลักไปที่ท่อสาขา โดยที่ขนาดของท่อหลักจะใหญ่กว่าท่อสาขา
    3. ข้อลด (Reducers)
        3.1 ข้อลดกลม (Concentric Reducers) ใช้งานสำหรับการลดขนาด เช่น เมื่อต้องการลดขนาดท่อจาก 4 นิ้ว ไป 3 นิ้ว โดยจุดประสงค์คือต้องการให้ท่อหลักและท่อสาขามีจุดศูนย์กลางของท่อร่วมกัน สามารถติดตั้งได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง
        3.2 ข้อลดเยื้องศูนย์ (Eccentric Reducers) ใช้สำหรับการลดขนาดท่อ โดยมีจุดประสงค์คือต้องการให้ด้านบนหรือด้านล่างของท่อหลักและท่อสาขาอยู่ในระนาบเดียวกัน เพื่อจัดระเบียบพื้นที่ติดตั้ง และนำไปใช้ในการติดตั้งท่อทางดูดของปั๊มน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดโพรงอากาศและน้ำที่ไหลเข้ามา จะไล่อากาศที่เกิดขึ้นออกไปได้ง่าย
    4. ฝาครอบ (Caps) ลักษณะโครงสร้างเป็นแบบสวมเชื่อมและเกลียวใน โดยใช้สำหรับครอบปลายท่อ(เกลียวนอก) หรืออุปกรณ์ต่างๆ ใช้งานเมื่อต้องการปิดกั้นของไหล
    5. คัปปลิ้ง (Couplings)
        5.1 คัปปลิ้งแบบเต็ม (Full Couplings) ใช้เมื่อต้องการต่อท่อหรืออุปกรณ์ต่างๆเข้าหากัน โดยใช้การสวมเชื่อมทั้งสองด้าน หรือแบบเกลียวทั้งสองด้าน
        5.2 คัปปลิ้งแบบครึ่ง (Half Couplings) มีความยาวเป็นครึ่งหนึ่งของ Full Couplings ใช้เมื่อต้องการต่อท่อหรืออุปกรณ์ต่างๆ เข้าหากัน โดยใช้การสวมเชื่อมเพียงหนึ่งด้านและอีกด้านหนึ่งเป็นแบบเกลียว
   6. ยูเนียน (Unions) เป็นข้อต่อตรงแบบสวมเชื่อมและเกลียวในทั้งสองด้าน ใช้เมื่อต้องการต่อท่อหรืออุปกรณ์ต่างๆเข้าหากัน

 

กลับ
rojpaiboon.co.th ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)     การตั้งค่าคุกกี้     ยอมรับทั้งหมด