การเลือกใช้ท่อเหล็ก

  การเลือกใช้ท่อเหล็กแต่ละประเภทเพื่อให้เลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม ต้องคำนึงถึง ของไหล, สภาพแวดล้อม, อุณหภูมิ, ความดันใช้งาน ตัวอย่างท่อเหล็กที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลายมีดังนี้

 

ท่อเหล็ก ASTM A53
  ท่อเหล็กกล้า ASTM A53 แบบมีตะเข็บ ทนอุณหภูมิได้สูงสุดประมาณ 200 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับงานท่อระบบดับเพลิง, ท่อน้ำเย็น (Chilled Water), ท่อน้ำร้อน, ท่อน้ำงานสุขาภิบาลทั่วไป


  ท่อเหล็กกล้า ASTM A53 ยังสามารถนำมาชุบกัลวาไนซ์ เพื่อทนการกัดกร่อนของสภาพแวดล้อม ต่างๆ ที่มีผลทำให้เนื้อเหล็กของท่อเสื่อมคุณภาพลง ยกตัวอย่าง เช่น ในงานอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน อากาศจะมีความชื้นทำให้ท่อเหล็กเกิดการกัดกร่อนตามผิวท่อด้านนอก จึงแก้ด้วยวิธีการชุบกัลวาไนซ์เพื่อทนต่อการกัดกร่อนและยืดอายุการใช้งาน


ท่อเหล็ก ASTM A106
  เป็นท่อเหล็กแบบไร้ตะเข็บ ทนอุณหภูมิได้สูงสุดประมาณ 600 องศาเซลเซียส เหมาะกับงานที่ต้องการทนอุณหภูมิสูง เช่น งานท่อบอยเลอร์, งานระบบท่อไอน้ำ, งานระบบก๊าซความร้อนต่างๆ หรืองานที่ต้องการความปลอดภัยสูง เนื่องจากท่อเหล็กที่ไร้ตะเข็บนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของการรั่วไหลของของไหลตามแนวเชื่อมท่อ


ท่อเหล็กอัลลอย ASTM A333
  แบ่งตามลักษณะโครงสร้างได้ 2 ประเภท แบบมีตะเข็บและไร้ตะเข็บ เหมาะกับงานที่มีอุณหภูมิต่ำ มักใช้ในงานที่ท่อเหล็กสัมผัสโดยตรงกับสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็น


ท่อเหล็กอัลลอย ASTM A335
  เป็นท่อแบบไร้ตะเข็บเหมาะสำหรับงานที่ใช้อุณหภูมิสูงมาก งานท่อไอน้ำในบอยเลอร์ขนาดใหญ่


ท่อสเตนเลส ASTM A312
  แบ่งตามลักษณะโครงสร้างได้ 2 ประเภท แบบมีตะเข็บและไร้ตะเข็บ เหมาะกับงานที่มีอุณหภูมิสูงมากและอุณภูมิต่ำมาก สามารถทนทานกัดกร่อนได้ดี เหมาะสำหรับงานของไหลที่เป็นสารเคมีต่างๆ


BS1387 CLASS-M / TIS277
  เป็นท่อเหล็กที่นำมาชุบกัลวาไนซ์ เพื่อทนการกัดกร่อนของสภาพแวดล้อมต่างๆ นิยมใช้ในงานสุขาภิบาล

 

ท่อเหล็ก API 5L
  API ย่อมมาจาก “American Petroleum Institute” แบ่งตามลักษณะโครงสร้างได้ 2 ประเภท คือแบบมีตะเข็บและไร้ตะเข็บ เหมาะสำหรับงาน Oil & Gas, petrochemical งานลำเลียงก๊าซ&น้ำมัน

กลับ
rojpaiboon.co.th ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)     การตั้งค่าคุกกี้     ยอมรับทั้งหมด